งานออกแบบระบบควบคุมที่ใช้พีแอลซี (PLC) เป็นอุปกรณ์ในการควบคุม
PROGRAMABLE LOGIC CONTROLLER (PLC)
PLC MITSUBISHI : FX3S-CPU , FX3G-CPU , FX3U-CPU , FX5U-CPU , IQ-R CPU
PLC SEIMENS : S7-1200 CPU , S7-1500 CPU , ET-200S CPU
PLC SCHNEIDER ELECTRIC : MODICON M221 , MODICON M241 , MODICON M251 ,
PLC OMRON : CP1E -CPU , CP1W-CPU,CP1L-CPU
HUMAN MACHINE INTERFACE (HMI)
HMI MITSUBISHI : G0T2000 SERIES
HMI SCHNEIDER : PROFACE
HMI SEIMENS : KTP BASIC
จากรายละเอียดรายการข้างต้นจะเป็นแบรนด์และซีรีย์อุปกรณ์ที่ทางเราสารถจัดหาและเขียนโปรแกรมควบคุมโดยใช้พีแอลซีตามรุ่นที่แจ้งไปข้างต้น ซึ่งแน่นอนว่าครอบคลุมเกือบทุกๆพีแอลซีที่มีวางขายในตลาดเมืองไทย ซึ่งไม่เพียงแต่เขียนโปรแกรมให้เครื่องจักรทำงานได้หรือเขียนหน้าจอให้สวยงามให้ผู้ใช้งานเข้าใจง่ายที่สุด ทางเรายังคำนึงถึงหลายสิ่งและหลายๆอย่างเกี่ยวกับระบบความคุมที่ใช้พีแอลซี ซึ่งจะเป็นระบบที่ค่อยข้างซับซ้อนต้องการการแจงรายละเอียดให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่จะนำโปรแกรมที่ทางเราจัดทำไปใช้งาน ให้ใช้งานง่าย แก้ไขง่ายที่สุด และบำรุงรักษาง่ายที่สุด ซึ่งอาจจจะสามารถแจงรายละเอียดได้ประมาณด้านล่าง
ส่งงานพร้อมแบบไฟฟ้าที่แน่ชัดและถูกต้อง
แบบไฟฟ้านั้น มีทั้งแบบแนวนอนและแบบแนวตั้ง ซึ่งแบบไฟฟ้าที่เราจะส่งให้นั้น ถูกแบ่งออกเป็น สองส่วนหลักๆ คือ แบบไฟฟ้าที่บ่งบอกถึงวงจรกำลัง (Power Section Diagram) และแบบไฟฟ้าที่บ่งบอกถึงวงจรควบคุม (Control Section Diagram) แน่นอนว่าแบบไฟฟ้านั้นจะบ่งบอกถึงความเป็นจริงที่ดีที่สุดของตู้ควบคุมที่เราจัดสร้างขึ้นมา
- มีการควบคุมคุณภาพของสายไฟคอนโทรลที่ดีที่สุด
สายไฟเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการทำตู้ควบคุมตู้หนึ่งขึ้นมา สำหรับสายไฟที่ใช้กันอยู่มีอยู่หลายยี่ห้อ ซึ่งต่างก็ต่างด้วยคณภาพ แต่สำหรับสายไฟที่เราใช้ในการเชื่อมต่อระบบสัญญานในตู้ควบคุมของเรานั้นมีอยู่ด้วยกันแค่ 2ชนิดของ 2 ยี่ห้อเท่านั้น คือ สายไฟ H05 VK ของ Lapp Kable และสาย VSF ของ THAI YAZAKI (ไม่รวมพวกสัญญาณจาก Sensor ที่อาจจะมีการใช้สาย LiYCY )
ซึ่งแน่นอนการเลือกสายไฟการเลือกสายไฟนั้น ไม่ได้มีเพียงยี่ห้อและชนิดของสายตามข้อมูลด้านบนเท่านั้น การเลือกสายนั้นต้องคำนึงถึงทั้งสีที่จะใช้ และขนาดที่เหมาะสมกับโหลดที่ใช้งานอีกด้วย
ในเรื่องสีนั้นน้ำเงินเป็นนสีของไฟ DC24 สีเหลืองเป็นสีของไฟ AC220 สีดำจะเป็นสีของสัญญานเพาเวอร์ต่างๆ ซึ่งเราก็ตระหนักมากในเรื่องนี้เพราะมันเป็นเรื่องหลักของระดับความปลอดภัย (Safety Area)ภายในตู้ควบคุม
ในเรื่องของขนาดก็สำคัญเช่นกัน เพราะถ้าเลือกขนาดผิดเล็กจนเกินไปอาจจะทำให้เกิดการไหม้ของสายไฟขึ้น หรือถ้าขนาดใหญ่เกินไปก็จะเป็นการเปลืองโดยใช่เหตุ
Cable Tags ที่เข้าใจง่ายและตรงกับแบบไฟฟ้า
มีการทำ Cable Marking ที่บ่งบอกถึงชื่อและการใช้งานของสายสัญญานเส้นนั้น ซึ่งแน่นอนจะอ้างอิงกับแบบไฟฟ้าที่จัดทำขึ้นเพื่อควบคุมตู้ควบคุมนั้นๆ
- มีหน้าของ SPARE PARTS ไว้ให้สำหรับเมื่อเครื่องจักรมีปัญา
SPARE PARTS เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับการบำรุงรักษาตู้ควบคุมเครื่องจักรนั้นๆ แน่่นอนเราจะจัดส่งทั้งรายละเอียด สเปกการใช้งาน และจำนวนที่ถูกใช้ในตู้ควบคุมนั้นๆ
- มีการตรวจเช็คคุณภาพของการเชื่อมต่อทุกๆจุดเชื่อมต่อ
เราจะมีการตรวจสอบการย้ำหางปลา เข้ากับสายไฟและการย้ำหัวน๊อตระหว่างหางปลากับอุปกรณ์ให้ดีที่สุด เพราะผลจากการย้ำหางปลาที่ไม่แน่นนั้นค่อนข้างที่จะเป็นปัญหาหลายๆอย่างๆ ถ้าเกิดที่สายควบคุม ปัญหาก็เพียง
- มีการตกลงและทำความเข้าใจการเขียนหน้าจอควบคุมก่อนลงมือสร้างเครื่องจักรจริง
- มีการเขียนคอมเม้นต์ในโปรแกรมหลัก