ลักษณะต่างๆของโหลด (ช่วงของความเร็ว, แรงบิดและกำลัง)
การมั่นใจในลักษณะของโหลดที่จะถูกใช้ในการงานของอุตสาหกรรมนั้น เป็นประโยชน์มากในการเลือกมอเตอร์ที่เหมาะสมและความถี่ที่ต้องใช้สำหรับการขับเคลื่อนมอเตอร์ตัวนั้น เพราะปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของการออกแบบ และบริการทางด้านการขับเคลือนมอเตอร์ไฟฟ้า คือ การเลือกมอเตอร์และอินเวอร์เตอร์ ไม่เหมาะสมกับลักษณะของงานนั้นเอง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขับมอเตอร์ไม่ได้บ้าง Overload บ้าง หรือแม้แต่ชุดขับเคลื่อนพังไปเลยก็มี ฉะนันก่อนที่จะมีการเลือกมอเอตอร์และอินเวอร์เตอร์ นั้น ผู้เลือกต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างมากในคุณลักษณะของโหลด
ลักษณะของโหลดที่ใช้กับงานมอเอตร์ไฟฟ้าอย่างคร่าวๆ มีตามรายละเอียดด้านล่างครับ ( ขออนุญาติใช้ภาษาอังกฤษ เพราะจะเข้าใจง่ายกว่าครับ)
- Constant Torque
- Variable torque
- Constant power
- Constant power/torque
- Starting/breakaway torque demand
1. Constant torque
โหลดแบบแรงบิดคงที่ ( Constant Torque) คือลักษณะของโหลดที่เมื่อมีเพิ่มปริมาณของความถี่ของมอเตอร์แล้วนั้น ( กำลังเพิ่มขึ้น) โหลดที่ใช้ก็ยังคงที่ตลอดเวลา แรงบิดที่ต้องการจากมอเตอร์ก็คงที่ตลอดเวลาเหมือนกัน ตัวอย่างงานที่มีลักษณะโหลดแบบนี้ เช่น งานระบบสายพานลำเลียงต่างๆ (conveyors)
แรงบิดจะคงที่และกำลังจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความไวในการหมุน
2. Variable torque
โหลดแบบแปรผัน(Quadratic torque) เป็นโหลดที่มีลักษณะของกราฟแรงบิดและกำลังเป็นสัดส่วนเดียวกันในลักษณะประมาณสัมการกำลังสอง โหลดแบบนี้จะเจอในงานประเภทมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับปั้มแรงเหวี่ยง (centrifugal pumps) และ พัดลม
3. Constant power
โหลดแบบกำลังคงที่ งานที่จะใช้โหลดแบบนี้จะเป็นงานที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของวัสดุระหว่างกระบวนการผลิต กำลังและแรงบิดจะเป็นสัดส่วนผกผันกับความเร็วในการหมุน
4. Constant power/torque
โหลดแบบนี้จะถูกใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ มันเกิดการรวมกันระหว่างกำลังที่คงที่และแรงบิดที่คงที่ โหลดแบบนี้มักจะต้องการกำลังมากๆเมื่อมอเตอร์หมุนเร็ว
5. Starting/breakaway torque demand
สำหรับงานที่ต้องการกำลังบิดมากๆ เมื่อมอเตอร์หมุนช้า มักจะเกิดลักษณะโหลดแบบนี้ขึ้น งานที่ต้องการโหลดแบบนี้มีให้เห็นทั่วไปเช่นงาน เครื่องอัด งานรีด งานปั้มสกรู
ลักษณะงานแบบนี้จำเป็นอย่างที่ต้องใช้มอเตอร์และอินเวอร์เตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการขับให้เกิดการอัดวัสดุชนิดต่างๆได้ ถ้ามีความผิดพลาดในการออกแบบและใช้งานอินเวอร์เตอร์ที่ผิดไป ก็จะใช้งานไม่ได้เลย
*** ควรระวังเป็นอย่างยิ่งในการเลือกใช้งานอินเวอร์เตอร์กับงานลักษณะนี้
ฟังก์ชันในการเลือกค่าโหลดในอินเวอร์เตอร์
รูปด้านล่างดัดแปลงมาจากคู่มือ Altivar™ 312 variable speed drives ของบริษัทชไนเดอร์ อิเล็กทริค จะเห็นว่ามีลักษณะของโหลดที่สามารถเลือกค่าได้ตามที่ผู้นำไปใช้ต้องการ จะเห็นว่าสามารถเลือกลักษณะของโหลดได้ทั้งหมด 3 ลักษณะ (ตามในรูปคือ 3 ลักษณะและมี ration พิเศษอีก คือ ratio nLd = Energy saving) คือ
- Constant torque applications (machines with average loads operating at low speed) with motors connected in parallel or special motors (e.g. resistive cage motor): ratio L
- Variable torque applications (pumps, fans): ratio P
- Machines with heavy loads operating at low speed, machines with fast cycles, with (sensorless) flux vector control: ratio n
- Energy saving, for machines with slow torque and speed variations: ratio nLd. The voltage is automatically reduced to minimum according to the necessary torque.
Leave A Comment